Archive for พฤศจิกายน, 2009

assignment : ไม้ไผ่ >>> ชนิดของไม้ไผ่( แก้ไข)*

ชนิดของไม้ไผ่ในไทย

ไม้ไผ่ที่พบในไทยมีประมาณ 44 ชนิด 

แต่ที่ทั่วไปนำมาใช้ในการก่อสร้าง จะมีประมาณ 7 ชนิด**

 1. ไผ่ตง

 แหล่งที่พบ :  ภาคกลาง (ปราจีนบุรีปลูกกันมากที่สุด)

ลักษณะ  :  ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร

ปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ไม่มีหนาม

ประโยชน์ : หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร  เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรง

 

  2. ไผ่สีสุก

แหล่งที่พบ :  พบทั่วไป   มีมากในภาคกลางและภาคใต้

ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวสด  ลำต้นขนาดสูง ปล้องใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดีที่ข้อจะมีกิ่งเหมือนหนาม ทำให้บริเวณข้อค่อนข้างแข็งแรง

ประโยชน์  : ทำโครงสร้างชั่วคราวได้ดี  เช่น  นั่งร้านก่อสร้าง  ร้านค้าขายของ

 3. ไผ่ลำมะลอก

แหล่งที่พบ : ทั่วไป แต่ภาคใต้จะมีน้อยมาก

ลักษณะ  : ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตรลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร

ประโยชน์  :  ทำโครงสร้างชั่วคราวได้ดี  คล้ายๆกับไผ่สีสุก  แต่มีความสวยงามน้อยกว่า

 

         4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม

แหล่งที่พบ  :  มีทั่วทุกภาคของประเทศ

ลักษณะ  : ต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร

ประโยชน์  : ใช้ทำโครงบ้าน(ขนาดเล็ก) ใช้ทำนั่งร้าน

         5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ

แหล่งที่พบ :   กาญจนบุรี  จันทบุรี 

ลักษณะ : ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร

ประโยชน์ : เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง  และการทำเครื่องจักสาน

 6. ไผ่เฮียะ

แหล่งที่พบ  :  มีทางภาคเหนือ

ลักษณะ  :ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ  เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร

ประโยชน์  : ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน (แต่รับน้ำหนักได้ไม่มากเท่าไม้จริง*)

7. ไผ่รวก

แหล่งที่พบ :  กาญจนบุรี

ลักษณะ :  ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร  เมื่อโตจะเป็นกอๆ  

ประโยชน์  : ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ

สรุปข้อมูล

ประโยชน์หลักๆที่พบจากการใช้ไม่ไผ่

1 การนำไปทำโครงสร้างชั่วคราว  เนื่องจากมีความแข็งแรงก่อสร้างได้ไว  และราคาถูก  เช่นนั่งร้านการทำการก่อสร้าง  ส่วนประกอบร้านค้าขายของ  ซึ่งไม้ไผ่ที่ทำได้ก็คือ  ไผ่สีสุก  ไผ่ป่า  ไผ่ดำ  ไผ่สำมะลอก

2. การนำไปทำโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี  เช่นโครงหลังคา เสา คาน  สำหรับอาคารไม้ ที่ใช้โครงสร้างเบา  แต่มีความสามรถในการรับแรงมากกว่า โครงสร้างชั่วคราว  ไม้ไผ่ที่สามารถทำได้ก้คือ  ไผ่เฮี๊ยะ  ไผ่สีสุก ไผ่ป่า

3.การนำไปทำเครื่องจักสาน  และเยื่อกระดาษ  รวมถึงส่วนประกอบของอาคารอื่นๆที่ไม่ต้องการความแข็งแรงและการรับแรง  ซึ่งได้แก่ไผ่รวก กับไผ่ดำ

ส่วนไผ่อื่นๆอีกมากมาย ก็อาจใช้ประโยชน์ได้คล้ายๆกับที่กล่าวไว้ข้างต้น  รวมถึงพิษณุโลกเอง  ก้มีห้างนา และร้านค้า  ที่ทำจากไม้ไผ่

แหล่งที่พบที่พิษณุโลกคือ อำเภอวังทอง ชาติตระการ  นครไทย

บางกระทุ่ม  และเนินมะปราง

(ขอบคุณข้อมูลจาก www.panyathai.or.thด้วยค่ะ ^^)

พฤศจิกายน 22, 2009 at 11:57 am 2 ของความคิดเห็น

หนูมันแย่….

12345

พฤศจิกายน 16, 2009 at 11:03 am 2 ของความคิดเห็น

desk critic 3

anigif261651

คอมเม้นงานจากอาจารย์วันนี้

1.ที่จอดรถไม่พอ  ควรเผื่อระยะเลี่ยว 6 เมตรด้วย

อาจต้องลดยูนิตลงให้เหมาะสมกับจำนวนที่จอดรถที่สามารถจอดได้

2. circulation  ไม่ควรเป็นซอกหลืบในการเข้าห้องอาจทำให้เปลือง 

แต่ถ้าเป็นซอกในการเข้าบันไดหนีไฟก้สามารถทำได้

3. บันไดหนีไฟควรห่างจากบันไดหลัก

4.ห้องงานระบบ ควรอยู่ที่ชั้น 1 

คิดเรื่องระบบน้ำด้วย ว่าเป็นแบบ feet up  หรือ feet down

3. ควรจัดระบบห้องน้ำในห้องแบบ 2-br ใหม่

และสุดท้าย…..

หากแก้เรื่องที่จอดรถไม่ได้  ทุกอย่างก้จบ***

คอนเซปก้ไม่ได้ขึ้น

แง ~~~~~~

พฤศจิกายน 16, 2009 at 10:59 am ใส่ความเห็น

เคยสงสัยไม๊ ว่า อะไรคือสิ่งที่อาคารต้องการจะเป็น??

__%5C__%5CIICManager%5CUpload%5CIMG%5C%5CSanPaolo%5CMARIO%20BOTTA

คำถามนี้เป็นคำถามของสถาปนิกชื่อดัง มาริโอ บ็อตต้า

ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ le carbusier louis I kahn และ carlo Scapa

โดยวันหนึ่ง บ็อตตาได้มีโอกาสไปทำงานช่วยวางแปลนอาคารที่เวนิช

และได้พบกับคาห์น
ซึ่งเค้าไม่ค่ยเข้าใจรายละเอียดงานของคาห์นและสื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่อง

เพราะว่าคาห์นพูดอิตาเลี่ยนไม่ได้ ส่วนบ็อตตาก็ไม่พูดภาษาอังกฤษ

ทั้งสองคนมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร

จึงเกิดคำถามที่บ็อตตาถามคาห์นบ่อยๆว่า

“อะไรคือสิ่งที่อาคาร ต้องการจะเป็น??”

ในการรับรู้กับคาห์น บ็อตตาได้คำตอบว่า

“…..มันไม่ใช่อะไรที่คุณต้องการให้มันเป็น แต่มันจะเป็นไปตามกฏเกณฑ์ขิงสื่งต่างๆ ซึ่งจะบอกคุณเองในทิศทางของการดีไซน์…”

อ่ออ มันเปนอย่างนี้นี่เอง..

^^ สรุปคร่าวๆจาก B-1 เล่ม 4 หน้า 58

11

นี่ภาพงานของบ็อตต้า เอามาให้ดู สวยเนอะๆ

พีเอส   .. ทำไมสถาปนิกเก่งๆมักจะหน้าตาโรคจิตว้าาา

พฤศจิกายน 15, 2009 at 8:36 am ใส่ความเห็น

หัวข้อ assignment : ไม้ไผ่ วัสดุที่พื้นๆ ที่ไม่ได้มีไว้ทำพื้น ^^

ไม้ไผ่2ไม้ไผ่

ประเด็นที่ต้องการศึกษา  : 

 ศึกษาวัสดุไม้ไผ่ว่านำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง(เฉพาะด้านที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม)   

 ทั้งในด้านการนำไปทำโครงสร้าง และส่วนของงานดีไซน์ รวมถึงการดูแลรักษา

เหตุผลที่เลือก  :  อยากทำเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นถิ่นที่ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ  แต่มีความร่วมสมัย

จุดประสงค์  : 

เพื่อศึกษาว่าไม้ไผ่สามารถทำอะไรได้บ้าง  มีกี่ประเภท 

หาทางเลือก และตัวเลือกในการใช้งานที่เหมาะสม    

หาแพทเทินของวัสดุใหม่ๆ จากไม้ไผ่ซึ่งเปนวัสดุที่มีอยู่ในพื้นถิ่น

เพื่อเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาทำให้ร่วมสมัยมากขึ้น  และเรียนรู้วิธีการดูแลรักษา

กระบวนการศึกษา  :  อาจจะเริ่มหาข้อมูลบางส่วยในอินเตอร์เน็ต  และเข้าไปดู case  ในเมือง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ  : 

ได้แนวความคิดในการเลือกไม้ไผ่มาใช้ในงานดีไซน์ 

(ซึ่งตั้งใจจะเอามาใช้ในโปรเจคนี้อยู่แล้ว)

ได้ข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับไม้ไผ่ และการดูแลรักษา

 เป็นการสะสมข้อมูลไว้ใช้ในการปรับปรุงหรือเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป

หมายเหตุ  : 

อาจารย์..  หนูอยากหาเรื่องไม่ไผ่จริงๆ หนูไม่ได้เอาตามที่อาจารย์ยกตัวอย่างนะคะ – -*   อย่าให้หนูเปลี่ยนเลยน้า

พฤศจิกายน 13, 2009 at 5:22 am 6 ของความคิดเห็น

บรรยากาศอันแสนสุข

anigif12

ภาพบรรยากาศการตรวแบบวันนี้

บอกได้เพียง 4 คำว่า

อ่วมอรทัย***

เหอะๆ เหอะ เหอะ – -*

พฤศจิกายน 12, 2009 at 10:19 am 3 ของความคิดเห็น

09112009020

พฤศจิกายน 9, 2009 at 6:09 pm 2 ของความคิดเห็น

ส่งตรวจแบบย่อย..ครั้งที่ 1

anigifcomment  อาจารย์วันนี้

ไม่ควรคิด เฟอร์นิเจอร์ทีละชิ้น เพราะว่าเวลาลงแปลนจริงจะไม่ได้พื้นที่เท่าที่คิดไว้

ควรลดขนาดพื้นที่ให้น้อยลง

 และจัดห้องเป็นชุดๆไว้เลย โดยให้ขนาดของห้องลง grid  และให้นึกถึงสแปนเสาเวลาจอดรถด้วย

ควรคิดพื้นที่พวกห้องควบคุมเช่น ห้องไฟฟ้า  ห้องปั๊มน้ำ  และ ห้องโทรศัพท์

แต่พื้นที่ส่วนกลางยังไม่ต้องจัดเป็นชุดๆ

case  >>>  ได้อะไรจากcase

ลักษณะการวางอาคาร  การที่มี courtyard ตรงกลาง

การ design บันไดหนีไฟที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม

และ material ที่เลือกใช้ให้เกืดเส้นสายทีทำให้น่าสนใจ

พีเอส. กดที่รูปแล้วจะขึ้นสไลด์  (ไฮโซมากกกกกกก  555+)

พฤศจิกายน 9, 2009 at 5:57 pm 1 ความเห็น

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

พฤศจิกายน 5, 2009 at 5:43 pm 1 ความเห็น


Status

หนูจาทำห้องสมุดแบบ ห่อกลับบ้าน เอาหนังสือไปอ่านที่หอแระกัน -*- เซงห่านมากกกก

Blog Stats

  • 66,295 hits
พฤศจิกายน 2009
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  

1479

PROFILE

VACHIRAPILAN PHROMMIN
51711479
STUDIO 2
NARESUAN UNIVERSITY
ARCHITECT MAJOR
MAIL CHICKII-CHOOKKII@WINDOWSLIVE.COM

RSS ฟีดที่ไม่รู้จัก

  • มีความผิดพลาดเกิดขึ้น feed อาจใช้งานไม่ได้ชั่วคราว ลองใหม่อีกครั้งภายหลัง

RSS ฟีดที่ไม่รู้จัก

  • มีความผิดพลาดเกิดขึ้น feed อาจใช้งานไม่ได้ชั่วคราว ลองใหม่อีกครั้งภายหลัง